สนิมเหล็ก กับงานต่อเติมบ้าน ป้องกันไม่ได้จริงๆหรือ
หลายคนที่เข้าใจว่าหากใช้สีรองพื้นเหล็กกันสนิมเกรดพรีเมี่ยม สีน้ำมันทับหน้ายี่ห้อดี ทาให้ทั่วถึงหลายๆรอบแล้ว สนิมจะไม่มาให้เห็น ต่างต้องผิดหวังเมื่อเวลาผ่านไปเพียง 1-2 ปี คราบแดงๆไหลย้อยๆ ตามดสีแดงมีให้เห็น หากทาสีดำด้านไว้ยังพอทน ดูๆไปเป็นศิลปะจากธรรมชาติ แต่หากเลือกทาเป็นสีขาว เมื่อเกิดสนิมจะเห็นชัดเจนและดูเก่าสกปรก ดึงบ้านทั้งหลังให้ดูทรุดโทรมไปตามกัน
ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นทั้งที่ทาสีอย่างดีแล้ว คำตอบหลักคือ
1. เหล็กโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นกล่องกลวงใน ยากต่อการทาสีภายในให้ทั่วถึง
2. โครงสร้างเหล็กส่วนใหญ่ใช้วิธีการเชื่อมแตะเป็นจุดๆเท่านั้น เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน และเหล็กบางการจะเชื่อมแนวรอบไม่ให้น้ำเข้าก็ต้องอาศัยช่างฝีมือ ช่างเหล็กส่วนใหญ่เป็นช่างเชื่อมแตะทั้งนั้น น้ำฝนจึงเข้าไปสะสมอยู่ภายในโครงสร้างจำนวนมาก จนกลายเป็นสนิมออกมาให้เห็นในภายหลัง
3. จากประสบการณ์ตรงของ ไฟเบอร์ เฮาส์ฯ ที่เข้าไปรื้อถอนงานโครงสร้างเหล็กทิ้ง เพื่อทำโครงสร้างอลูมิเนียมทดแทน จะพบเหมือนกันทุกงาน คือน้ำสนิมเหล็กสีแดงเข้มสะสมอยู่ในโครงสร้างจำนวนมากเป็นปกติทุกงาน สนิมที่เราเห็นภายนอกเป็นแค่ส่วนเล็กน้อยเท่านั้นเหมือนยอดภูเขาน้ำแข็ง
ตัวอย่างสนิมที่เกิดภายในปีเดียวหลังติดตั้ง ไหลออกจากภายในโครงสร้างที่เป็นกล่องกลวงตามมุมรอยต่อ
แล้วไม่มีวิธีแก้ไขป้องกันเลยหรือ ตอบได้ว่ามีแน่นอน แต่ใช้เวลามากต้นทุนสูง ช่างเหล็กทั่วไปไม่ทำกันเพราะราคาจะสูงแข่งขันไม่ได้ ลูกค้าไม่ซื้อ เช่น
1. เปลี่ยนจากเหล็กกล่องธรรมดาเป็นเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ ผิวเหล็กจะถูกชุบกันสนิมอย่างดีมาจากโรงงานผลิต (ราคาสูงกว่ามาก) ดูตัวอย่างเสาไฟฟ้าเหล็ก ตากแดดตากฝนทุกวัน ก็ไม่เป็นสนิมแม้ไม่ได้ทาสีทับหน้าเลย แต่สำหรับงานโครงสร้างต้องนำเอาเหล็กนี้มาตัดและเชื่อมต่อกัน ซึ่งจุดเชื่อมต่อนี้จะถูกเอาสารเคลือบออกจากการตัดและความร้อนจากการเชื่อม จึงหนีไม่พ้นเกิดสนิมตรงรอยเชื่อมอยู่ดี และข้อเสียสำคัญคือ เหล็กกัลวาไนซ์ทาสีทับหน้าแล้วจะลอกร่อนในภายหลังเป็นแผ่นๆ เนื่องจากมีผิวมันการยึดเกาะสีไม่ดี
2. .ให้ช่างเชื่อมเดินแนวรอบรอยเชื่อมทุกแนวกันน้ำเข้า ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นงานที่อาศัยฝีมือและเวลาทำงานมหาศาล โดยเฉพาะงานที่มีจุดเชื่อมต่อมากๆอย่างเช่นงานประตูรั้ว หรือหากหาช่างทำให้ได้ราคาค่าแรงก็อาจสูงจนไม่เกิดการจ้างงาน
3. อุดรอยช่องว่างรอยเชื่อมต่อด้วย อะคริลิคซีแลนซ์ (Acrylic Sealant) ซึ่งสามารถทาสีทับหน้าได้ อันนี้ดูเป็นทางออกที่ดี ช่างเหล็กที่ใส่ใจในคุณภาพงานจะทำให้ แต่ก็คาดหวังผลได้ยาก เพราะเหล็กและอะคริลิคการยึดเกาะไม่สมบูรณ์ สักระยะก็จะแตกลอกร่อน น้ำเข้าได้อยู่ดี
4. ยกชิ้นงานที่เชื่อมต่อสมบูรณ์แล้ว ไปให้โรงชุบสีฝุ่นทำการชุบอบเคลือบสีให้ คล้ายกับงานเฟอร์นิเจอร์เหล็กกลางแจ้ง อันนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับงานเหล็ก
เคยพบลูกค้าบางรายนำวิธีนี้มาใช้กับงานประตูรั้ว ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูงมากๆ เพราะไม่ชอบสนิมเหล็ก แต่ก็ไม่ชอบสีเงาๆของสแตนเลส ซี่งปัจจุบัน ไฟเบอร์ เฮาส์ฯ มีทางเลือกใหม่ สำหรับงานประตูรั้วโครงสร้างอลูมิเนียมปลอดสนิม เพื่อมาตอบโจทย์ปัญหานี้โดยเฉพาะ