กระจกนิรภัยกับงานต่อเติมอาคาร

กระจกกับงานอาคารถือเป็นของที่ขาดกันไม่ได้ในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม กระจกธรรมดาถือเป็นวัสดุที่หาซื้อได้ง่ายทนทานสวยงาน และราคาไม่แพง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ อาจสร้างความบาดเจ็บรุนแรงถึงชีวิต โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงงานต่อเติมอาคารด้วยกระจกไม่ว่าจะเป็น หลังคาสกายไลท์ ห้องกลาสเฮาส์  ผนังกระจก จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก และคำว่า  “กระจกนิรภัย” จะต้องถูกกล่าวถึงพร้อมกับความเข้าใจผิดๆว่า กระจกนิรภัยคือกระจกเท็มเปอร์   เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง  ขอแนะนำให้รู้จักประเภทของกระจกกับงานอาคารกันเสียก่อน

1. กระจกโฟลต  (Float Glass)
2. กระจกโฟลตแปรรูป  (Fabricated  Glass)
3. กระจกเทียม (วัสดุเทียมกระจก)

ตัวอย่างงานติดตั้งกระจกนิรภัยสองชั้น โฟลตลามิเนต

1. กระจกโฟลต คือแก้วแผ่นเรียบสนิททั้งสองด้าน ผลิตโดยกรรมวิธีโฟลต คือหลอมแก้ว ให้ไหลลอยบนบ่อดีบุก กระจกในปัจจุบัน ผลิตด้วยวิธีโฟลตเกือบทั้งหมดโรงงานที่ผลิตในไทยมีเพียงสามที่คือ อาซาฮี(AGC) , การ์เดียน และ BFG เป็นกระจกพื้นที่ฐาน ที่มีปริมาณการใช้มากที่สุด หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่สูง มีหลากหลายสีและขนาดให้เลือกใช้ เมื่อแตกจะเป็นเหลี่ยมแหลมคม หลุดร่วงไม่คงรูปยึดติดเป็นแผ่น สร้างความบาดเจ็บได้มากทั้งจากความแหลมคม และจากน้ำหนักตัวกระจกเอง จึงใช้งานได้จำกัดเฉพาะจุดที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่นบานประตูหน้าต่างขนาดเล็กอยู่ในพื้นราบระดับไม่สูงนัก อาคารบ้านเรือน 1-2ชั้น

2. กระจกโฟลตแปรรูป (Fabricated Glass) คือนำเอากระจกโฟลตมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปในแบบต่างๆเพื่อเพิ่มคุณสมบัติ ให้เหมาะสมกันการใช้งาน แบ่งแยกย่อยออกได้เป็นหลายชนิด และโรงงานที่ผลิตกระจกชนิดนี้ก็มีหลากหลาย ทั้งรายเล็กรายใหญ่ ขอนำเฉพาะประเภทที่นิยม มากล่าวถึงเท่านั้น

2.1 กระจกเท็มเปอร์ (Tempered Glass)  คือ กระจกโฟลตนำมาชุบแข็งโดยการให้ความร้อนและปล่อยให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว จึงได้เนื้อกระจกที่มีความแกร่ง ขึ้น 3-5 เท่า เมื่อแตกจะเป็นเม็ดข้าวโพด หลุดร่วงไม่ยึดติดเป็นแผ่น แต่เนื่องจากไม่แหลมคม จึงช่วยลดความบาดเจ็บจากการถูกระจกบาดได้ แต่ยังคงมีอันตรายจากน้ำหนักกระจกที่ตกทับ อาจบาดเจ็บรุนแรงหากตกจากที่สูงและบานมีขนาดใหญ่ ที่สำคัญคือมีความเสี่ยงที่กระจก จะแตกได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากความเครียดในเนื้อวัสดุที่เกิดจากสารปนเปื้อนตกค้าง จึงห้ามนำกระจกเท็มเปอร์มาใช้กับงานที่สูงเหนือศรีษะเด็ดขาด แต่ก็ยังคงมีผู้ใช้งานผิดประเภทอยู่เสมอเนื่องจากเข้าใจว่ากระจกเท็มเปอร์คือกระจกนิรภัยใช้กับงานหลังคาได้ เป็นเรื่องที่น่ากังวล

2.2 กระจกลามิเนต หรือเรียกว่า กระจกนิรภัยสองชั้น  คือการนำกระจก ตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปประกบติดกันด้วยแผ่นฟิล์ม (PVB) ที่มีความเหนียวทนทาน ทำหน้าที่ยึดเกาะชั้นกระจก เนื้อฟิล์มกันรังสียูวีได้ถึง99% กระจกที่ที่นิยมนำมาประกอบจะเป็นกระจกโฟลตใส หรือกระจมเทมเปอร์ใส และสร้างสีสันของกระจกได้ด้วยสีของฟิล์ม(PVB) เมื่อกระจกแตก แผ่นฟิล์ม(PVB) ซึ่งมีความเหนียวทนทาน จะยึดเกาะให้กระจกคงรูปแผ่นไว้ไม่ร่วงหล่น จึงจัดเป็นประเภทกระจกนิรภัยที่เหมาะสมกับงานต่อเติมอาคาร หลังคาสกายไลท์ กลาสเฮ้าส์ ผนังกระจก โรงจอดรถ อีกทั้งสามารถป้องการบุกรุกได้ หากกระจกมีความหนาเพียงพอจะทุบทำลายได้ยาก แต่เนื่องจากใช้กระจกสองถึงชั้น จึงมีน้ำหนักมาก จำเป็นต้องได้รับการออกแบบติดตั้งบนโรงสร้างที่มีความแข็งแรงเพียงพอ โดยเฉพาะงานหลังคาหากไม่ได้ออกแบบโครงสร้างอาคารเผื่อไว้แต่แรก น้ำหนักกระจกและโครงสร้างอาจส่งผลต่อความปลอดภัย

ตัวอย่างงานติดตั้งกระจกนิรภัย Makrolon Sheet รุ่น Heat Block

3. กระจกเทียม (วัสดุเทียมกระจก)
คือวัสดุที่ไม่ใช่แก้วแต่มีความใสเทียบเคียงกับแก้ว แผ่นเรียบตันทั้งสองด้านคล้ายกระจก ในปัจจุบันมีอยู่สองชนิดคือ

3.1 Makrolon Sheet (PC Grade) : เป็นพลาสติกวิศวกรรมชั้นสูงที่คิดค้นได้โดย Bayer Germany เมื่อปี 1958

3.2 Plexiglas (Acrylic Grade) : แผ่นพลาสติกใสดั่งเดิมที่โลกรู้จักมานานตั้งแต่ ปี 1933

3.1 Makrolon Sheet ( Polycarbonate Grade) :
เป็นแผ่นกระจกเทียม ที่ไฟเบอร์เฮาส์ เลือกใช้เป็นเจ้าแรกๆ สร้างตลาดจนวัสดุเป็นที่ยอมรับใช้งานแพร่หลายในปัจจุบัน ถือเป็นวัสดุเทียมกระจกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับงานต่อเติมอาคาร ด้วยน้ำหนักที่เบากว่ากระจก 8 เท่า เบากว่าแผ่นอะคริลิค 2 เท่า ตามขนาดใช้งานจริง ปลอดภัยสูงที่สุดเนื่องจากน้ำหนักที่เบาไม่เป็นภาระโครงสร้างอาคารเดิม มีความเหนียวยืดหยุ่นตัวสูงที่สุด สามารถทนแรงกระแทกได้มากกว่าแผ่นอะคริลิค 20 เท่า และมากกว่ากระจกจริง 250 เท่า จัดเป็นวัสดุไม่ลามไฟ Class 1 Fire Rating (เทียบClass 0 คือคอนกรีต Class 100 คือไม้) ทนความร้อนใช้งานต่อเนื่องได้มากถึง 115 องศาเซลเซียส จึงเป็นวัสดุชนิดเดียวที่ใช้ทำโคมไฟฟ้ารถยนต์  แผ่นมีอัตราการยืดขยายตัวจากความร้อนมาก กระบวนการติดตั้งจึงยุ่งยากเพราะต้องเผื่อการยีดหดของแผ่น ช่างจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญขั้นสูง จึงจะติดตั้งแผ่นออกมาสวยคล้ายกระจกจริง และปัจจุบันมีสินค้าเกรดรองราคาถูกในตลาด บ้างอาจเรียกกันในชื่อ โพลีแผ่นตัน ด้วยราคาที่ต่ำกว่า จึงเป็นตัวเลือกแรกสำหรับผู้รับเหมาทั่วไปซื้อง่ายขายคล่อง แต่ ที่ไฟเบอร์ เฮาส์ เรายังคงใช้วัสดุคุณภาพสูง Makrolon “Bayer” ต้นกำเนิด แม้ราคาจะสูง แต่เราต้องการยืนยันคุณภาพ มากกว่าแค่ขายได้ง่าย

ภาพเครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ Makrolon by BAYER German ผู้ให้กำเนิดวัสดุและยังคงทำตลาดจวบจนปัจจุบัน

3.2 Plexiglas (Acrylic Grade) (แผ่น Shinkolite จัดอยู่ในวัสดุกลุ่มนี้)
เป็นวัสดุทดแทนกระจกตัวแรกที่ใช้กันมายาวนาน คิดค้นกระบวนการผลิตโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Otto Rohm จดสิทธิบัตรในชื่อ Plexiglass นปี 1933 ด้วยคุณสมบัติใสเทียบเคียงกระจกและน้ำหนักเบา ตัวแผ่นมีความแข็งทนทานการเกิดรอยขีดข่วนได้ดีพอสมควรวัสดุแข็งจึงเปราะแตกหักง่ายเป็นธรรมชาติ จำเป็นต้องใช้แผ่นที่มีความหนามากเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ส่งผลให้น้ำหนักมากเป็นภาระโครงสร้าง และด้วยแผ่นที่แข็งและไม่ยืดหยุ่นพอให้จัดเก็บในลักษณะม้วนได้ จึงนิยมผลิตในขนาดแผ่นไม้อัดมาตราฐาน 1.2×2.4 m หรือ 1.4×3.0 m เพื่อความสะดวกในการขนส่ง เมื่อนำมาใช้งานจริงต้องเชื่อมต่อแผ่นแปะกาวขยายความยาว ขวางทางน้ำไหล ซึ่งจะเกิดการรั่วซึมตามมาได้ง่ายในสภาพใช้งานจริง ที่แผ่นอะคริลิคมีอัตราการยืดหดจากความร้อนของแสงแดดสูงมาก ย่อมต้องเกิดแรงกระทำ ที่รอยต่อมากและอาจปริแตกหรือรั่วซึมได้ในที่สุด แผ่นทนความร้อนใช้งานต่อเนื่องได้เพียง 75 องศาเซลเซียส จึงไม่เหมาะใช้งานในจุดเสียงใกล้เปลวไฟ หลอดไฟ หรือแหล่งความร้อนเป็นประจำ แต่ข้อดีคือ ทำให้สามารถดัดขึ้นรูปได้ง่าย ต่อแปะด้วยกาวได้ง่าย จึงนิยมนำใช้ขึ้นรูปชิ้นงานโปร่งแสง และเฟอร์นิเจอร์ เช่นโต๊ะ เก้าอี กล่องบริจาค กล่องโชว์สินค้า เป็นต้น

เครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ ในกลุ่ม แผ่นอะคริลิค ในชื่อPlexiglas ผู้ให้กำเนิดวัสดุและยังคงทำตลาดจวบจนปัจจุบัน

เครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ ในกลุ่ม แผ่นอะคริลิค ผลิตในไทยโดย SCG ที่พยายามเจาะตลาดงานหลังคาในไทยเมื่อปี 2016